วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

ไปทามจิตใจให้สงบกานนะเพื่อนๆๆ

วัดหงษ์ทอง

พระครูปรีชาประภากร

พระครูปรีชาประภากร  พระอธิการปราชญ์  ปภากโร (ศรนิล)

เจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ย้อนอดีตให้ฟังถึงความเป็นมาที่สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัดล้วนปลูกสร้าง
อยู่  “ในทะเล” จนถือเป็น UNSEEN ของแปดริ้ว” ว่า
สมัยที่ตัวท่านเองยังเป็นฆราวาสชื่อนายปราชญ์ ศรนิล ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่บ้านเกิดนี้
เมื่อถึงวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ชาวบ้านหงษ์ทองต้องเดินลุยโคลนสูงท่วมเข่า
ลุยป่าชายเลนไปทำบุญที่วัดซึ่งอยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ หลวงปู่ปานวัดคลองด่าน ได้ริเริ่มตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้
โดย กำนันสนใจ ภิญโญ บอกยกที่ดินให้วัดด้วยปากเปล่า เพื่อชาวบ้านจะได้ประกอบศาสนกิจ
ได้สะดวกขึ้น
ต่อมา มีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมารวบรวมซื้อที่ดินละแวกคลองหงษ์ทองและคลองขุดจากชาวบ้าน
ที่ดินตรงนี้ถูกขายไปด้วย จนกระทั่งในปี  พ.ศ. ๒๕๒๒  นายปราชญ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
ขณะนั้นพระอาจารย์โพธิ์  วรธรรมโม (แก้วขาว)  เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่
ผู้ใหญ่ปราชญ์  ศรนิล ได้เป็นกำลังสำคัญทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านและสำนักสงฆ์
ไปเจรจาขอซื้อที่ดินบริเวณที่ตั้งสำนักสงฆ์ ๒๑ ไร่ ๒ งาน  จากบริษัทเอกชนรายดังกล่าว

จนบริษัทยอมขายให้ในราคา ๑๒๐,๐๐๐ บาท โดยขอเวลาผ่อนชำระ ๓ ปี
ซึ่งกว่าจะชำระเงินได้ครบถ้วน ผู้ใหญ่ปราชญ์ ต้องวิ่งเต้นประสานงาน
และประสานความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
ในช่วงปี ๒๕๒๒ – ๒๕๒๗ นี่เอง  ที่ได้พัฒนาสำนักสงฆ์จนเป็นวัด
แต่แรกจะตั้งชื่อว่าวัดพระปฐมหลวงปู่ปานอุปถัมภ์
แต่ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแนะนำให้ใช้ชื่อ “หงษ์ทอง”
ตามชื่อคลอง “คลองวัดหงษ์ทอง” จึงเป็นวัดโดยสมบูรณ์นับจากนั้นมา
โดยกล่าวได้ว่า  ผู้ใหญ่ปราชญ์ ศรนิล  เป็นฆราวาสคนสำคัญในการฝ่าฟันอุปสรรค
บุกเบิกสร้างวัดนี้มากับมือ

ในปีพ.ศ.๒๕๒๖ ขณะที่ผู้ใหญ่ปราชญ์  ศรนิล อายุได้ ๕๗ ปี  ได้ตัดสินใจอุปสมบท
จากนั้นก็กราบลาเจ้าอาวาสออกธุดงค์เป็นเวลา ๖ ปี เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ
ชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสนับแต่นั้นมา
ปัจจุบันท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระครูปรีชาประภากร พระอธิการปราชญ์ ปภากโร


บูรณะพัฒนาวัดหงษ์ทอง – ศาสนสถานในทะเล
เมื่อมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส  ท่านพบว่าที่ดินของวัดถูกน้ำทะเลกัดเซาะ  จาก ๒๑ ไร่เศษ  เหลือเพียง ๘ ไร่
จึงเร่งบูรณะพัฒนาวัดทั้งด้านสถานที่และระเบียบวินัย เริ่มจากการทำเขื่อนยุติปัญหาน้ำเซาะที่ดิน
ซึ่งในระยะแรกท่านต้องลงแรงทำด้วยตัวเองด้วย  ปรับปรุงทางคมนาคมเข้าวัดและหมู่บ้านให้มีความสะดวก
ด้านกฎระเบียบท่านห้ามจัดมหรสพ ห้ามเล่นการพนัน เสพของมึนเมา ภายในบริเวณวัด
เคร่งครัดในการปกครองสงฆ์ห้ามออกเรี่ยไรชาวบ้าน

หลังจากนั้นท่านได้ก่อสร้างถาวรวัตถุของวัดในอาณาบริเวณเดิมซึ่งที่ดินถูกกัดเซาะลงทะเลไป
สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้จึงเสมือนปลูกสร้างอยู่ในทะเล ทว่าล้วนตั้งอยู่ในพิกัดโฉนดที่ดินของวัดทั้งสิ้น
สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ประกอบด้วย



ศูนย์พัฒนาจิต ศาลาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ศรนิลอนุสรณ์
สร้างเมื่อปี  ๒๕๒๗ – ๒๕๔๑  กว้าง  ๑๘ วา  ยาว  ๓๐ วา
ซึ่งปัจจัยทั้งหมดได้มาจากการบริจาคด้วยความศรัทธาของพสกนิกร
ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศล
เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในปีกาญจนภิเษก

ฉลองศิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี 


ศาลาปฏิบัติธรรม



พระธาตุคงคามหาเจดีย์ ปรีชาประภากร ปราชญ์  ศรนิล อนุสรณ์

สร้างขึ้นในปี ๒๕๔๒ พระธาตุคงคามหาเจดีย์ ฯ มีด้วยกัน ๓ ชั้น
แต่ละชั้นจะมีภาพวาดฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาุสนา เช่น
ภาพพุทธประวัติภาพพระโพธิสัตว์ปางอวตารต่างๆ
ภาพวาดพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่เป็นที่เคารพสักการะ
ที่สำคัญที่สุดคือบนชั้นสามของพระธาตุฯ เป็นที่บรรจุ
พระธาตุพระอรหันต์ในทะเลแห่งแรกของโลก



พระธาตุคงคามหาเจดีย์

ทางขวาของพระธาตุเป็นสิ่งก่อสร้างล่าสุดของวัดคือ พระอุโบสถ
ซึ่งก่อสร้างในปี  ๒๕๔๘ แล้วเสร็จปี ๒๕๕๐ ภายในมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวพุทธประวัติอย่างสวยงาม
ด้านหลังของพระธาตุคงคามหาเจดีย์  มีเรือรบจำลอง  และรูปหล่อพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เด่นเป็นสง่าหันหน้าออกปากอ่าว สิ่งก่อสร้างทั้งหมดที่กล่าวมานี้
ล้วนสร้างอยู่กลางทะเลทั้งสิ้น
โดยสามารถเดินจากเขื่อนของวัดมาตามสะพานคอตกรีตที่ทอดยาวไปในทะเล ก็จะผ่านศาลา
ด้านหลังศาลามีสะพานคอนกรีตยาว ช่วงแรกของสะพานประดับด้วยพญานาค
เมื่อเดินไปสุดสะพานจะถึงพระธาตุ  และพระอุโบสถ  หลังพระธาตุถึงลานประดิษฐานรูปหล่อ
ของกรมหลวงชุมพรฯ จะมีสะพานทอดยาวยื่นออกไปในทะเลอีก  นอกจากสามารถเทียบเรือแล้ว
ยังใช้เป็นจุดชมทิวทัศน์ท้องทะเลยามพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้เป็นอย่างดี
เดิมทีวัดหงษ์ทองไม่เป็นที่รู้จักมากนัก  จนเมื่อปี ๒๕๔๑ ศาลากลางน้ำสร้างเสร็จพุทธศาสนิกชน
และนักท่องเที่ยวก็เริ่มรู้จักที่นี่แต่ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมักมาจากถิ่นอื่น
ทั้งจาก  กรุงเทพ ฯ เหนือ ใต้  อีสาน  โดยส่วนเฉพาะชาวประมงจากสมุทรปราการ
นิยมมานมัสการพระธาตุกันมาก  เนื่องจากเป็นพระธาตุที่สร้างในทะเลชาวประมงมีอาชีพหากินอยู่กับทะเล
จึงมากราบไหว้เพื่อความเป็นศิริมงคลและบอกต่อๆ กันไป สำหรับชาวแปดริ้วนั้นยังไม่ค่อยรู้จักวัดนี้มากนัก
โดยเจ้าอาวาสบอกว่า ต้นเดือนเมษายนของทุกปีจะเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนมาบวชเนกขัมมะ
(ชีพราหมณ์) ที่วัด ปีนี้จัดระหว่างวันที่ ๕ – ๑๐ เมษายน  รับผู้สนใจทุกเพศทุกวัย ๔๐๐ คน

ผู้สนใจสามารถแสดงความจำนงได้ที่วัด
หมายเลขโทรศัพท์ ๐ – ๓๘๕๒ – ๘๓๖๗



แผนที่และการเดินทาง

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แยกเข้าถนนสุขุมวิทสายเก่า ไปจนถึง กม.ที่ 62 - 63
จะมีทางแยกขวาผ่านนาเกลือและบ่อกุ้งไปตามทางดินประมาณ 400 เมตร
หรือเดินทางตามถนนบางนาตราด หรือทางด่วนบูรพาวิถี และแยกขวาเข้าบางบ่อ ไปบรรจบกับสุขุมวิทสายเก่าแล้วเลี้ยวซ้ายไปยังวัดก็ได้
หากเดินทางมาจากฉะเชิงเทรา ใช้เส้นทางฉะเชิงเทรา– บางปะกง ประมาณ 26 กิโลเมตร ลอดใต้สะพานลอยถนนบางนา – ตราด
มาบรรจบกับถนนสุขุมวิทสายเก่า แยกขวาไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดหงษ์ทองอยู่ทางซ้ายมือ




รูปสวยๆๆ